การทุจริตคอร์รัปชั่นและการพัฒนา

 

       การที่รัฐมุ่งให้ประโยชน์แค่กลุ่มคนเล็กเป็นสิ่งที่จะทำให้สังคมยิ่งกัดกร่อนมากยิ่งขึ้น องค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ(Transparncy International) เปิดเผยผลสำรวจการจัดอันดับดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปี พ.ศ. 2554 (Corruption Perception Index) 

       เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลจากการสำรวจของสำนักโพลล์ต่างๆ เป็นการสำรวจระดับความรู้สึก/การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างต่อปัญหาคอร์รัปชันของประเทศต่างๆทั่วโลก แล้วนำมาจัดอันดับประเทศ โดยเรียงลำดับจากประเทศที่มีค่าดรรชนีสูงที่สุด(ภาพลักษณ์คอร์รัปชันน้อยที่สุด) จนถึงประเทศที่มีค่าดรรชนีต่ำที่สุด (ภาพลักษณ์คอร์รัปชันมากที่สุด)

       จากผลการประเมินพบว่ามีเพียง 5 ประเทศที่ไม่ได้อยู้ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจหรือ OECD ติดอันดับ 25 ประเทศแรกที่มีค่าดรรชนีสูงที่มีภาพลักษณ์ทุจริตคอร์รัปชันน้อย ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง บาร์เบโดส บาฮามาส และการ์ต้า ประเทศที่มีอันดับคะแนนต่ำสุดและมีปัญหาคอร์รัปชันสูงเป็นประเทศที่เป็นรัฐที่บริหารล้มเหลว ประเทศในแถบแอฟริกา รวมถึงประเทศที่เคยปกครองแบบสังคมนิยมเช่นเตอร์กเมนิสถาน เวเนซูเอล่า และคิวบา

       เมื่อเปรียบเทียบระหว่างดรรชนีชี้วัดคอร์รัปชั่นกับดรรชตัวชี้วัดการพัฒนามนุษย์ ( Human Development Index) ขององค์กรสหประชาชาติหรือยูเอ็น ที่ศึกษามิติการพัฒนาด้านต่างๆ ได้แก่ สุขภาพ สถานะทางเศรษฐกิจ และการศึกษาพบตัวชี้วัดสองตัวนี้ว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างน่าสนใจ ประเทศที่มีความโปร่งใส คอร์รัปชั่นน้อย ประชากรยิ่งมีการพัฒนาสูงกว่าประเทศที่ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นมาก